----t

Материал из ТОГБУ Компьютерный Центр
Перейти к: навигация, поиск

https://medium.com/

โรคอ้วน หรือ อ้วนลงพุง ตัวร้ายที่ทำให้เกิดโรคเรื้อรังต่าง ๆ เพราะฉะนั้น การรู้เท่าทันภาวะ อ้วนลงพุง และโรคอ้วน คือ ไม่ควรปล่อยให้น้ำหนักมากเกินเกณฑ์ รวมไปถึงการควบคุมปริมาณไขมันให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม จะช่วยให้คุณห่างไกลจากภาวะอ้วนลงพุง และมีสุขภาพที่ดีได้ในทุก ๆ วัน

ซึ่งบทความสาระน่ารู้ในวันนี้ Hillkoff จะพาทุกคนมารักสุขภาพไปด้วยกัน เพียงหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านี้ ที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดโรคอ้วน หรือ อ้วนลงพุง จะเป็นอย่างไรไปดูกัน

สาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะ อ้วนลงพุง

เมื่ออายุมากขึ้น ประสิทธิภาพในการทำงานของร่างกายก็เริ่มลดลง หรือหากรับประทานอาหารไม่เหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการ คือสภาวะของร่างกายที่ได้รับสารอาหารไม่ครบถ้วน หรือมีปริมาณไม่สมดุลกับความต้องการของร่างกายได้

ดังนั้นการเลือกรับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ สามารถช่วยป้องกันโรคติดต่อไม่เรื้อรัง (NCDs) อย่าง เบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง และอื่น ๆ อย่างไรก็ตาม อ้วนลงพุง เป็นภาวะที่มีการสะสมของไขมันในช่องท้องมากเกินไป ยิ่งมีรอบพุงมากเท่าไหร่ ก็จะยิ่งมีไขมันสะสมในช่องท้องมากเท่านั้น ซึ่งไขมันสะสมจะแตกตัวเป็นกรดไขมันอิสระเข้าสู่ตับ ส่งผลทำให้อินซูลินออกฤทธิ์ได้ไม่ดี ทำให้เกิดเมตาบอลิกซินโดรม (Metabolic Syndrome) ระดับน้ำตาลในเลือดสูง จึงมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคเบาหวาน โรคหัวใจ และหลอดเลือดตามมาได้ โดยสาเหตุที่ทำให้เกิด ภาวะอ้วนลงพุง มีดังนี้

การรับประทานอาหารที่มีพลังงานสูงเกินความต้องการของร่างกาย

รับประทานอาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตในปริมาณมาก

ขาดการออกกำลังกาย เช่น การนั่งทำงานทั้งวัน

พักผ่อนไม่เพียงพอ อดหลับอดนอน

น้ำหนักที่เพิ่มขึ้น ถือเป็นปัจจัยหลักในการเกิดอ้วนลงพุง

วัยหลังหมดประจำเดือน

การสูบบุหรี่

พันธุกรรม ภาวะนี้ขึ้นอยู่กับพันธุกรรมของแต่ละประเทศ และเชื้อชาติ ส่งผลให้ระดับอ้วนลงพุงไม่เท่ากัน

การใช้ยาจิตเวชบางชนิด

กลุ่มคนที่เสี่ยงต่อภาวะ อ้วนลงพุง มีอะไรบ้าง

โดยผู้ชายหากวัดรอบเอวได้มากกว่า 90 เซนติเมตร และผู้หญิงหากวัดรอบเอวได้มากกว่า 80 เซนติเมตร รวมถึงปัจจัยเสี่ยง ดังนี้

ความดันโลหิตสูง 130/85 มิลลิเมตรปรอทขึ้นไป

น้ำตาลในเลือดขณะอดอาหารสูง 100 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป

ระดับไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ขึ้นไป

ผู้ชายที่มีระดับไขมัน HDL คอเลสเตอรอลน้อยกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ผู้หญิงที่มีระดับไขมัน HDL คอเลสเตอรอลน้อยกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ผู้ที่เป็นเบาหวาน

ผู้ที่เป็นความดันโลหิตสูง และมีระดับอินซูลินในเลือดสูง

ผู้ที่เป็นโรคหัวใจ

ผู้ที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป

เชื้อชาติ โดยคนผิวเข้มจะมีโอกาสเสี่ยงมากกว่าคนผิวปกติ

ผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคเบาหวาน

ผลเสียต่อสุขภาพจากการเป็นภาวะ อ้วนลงพุง

เสี่ยงต่อการเป็นเบาหวาน (Type 2 DM)

ทำให้หลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจตีบ จึงเกิดโรคหัวใจได้ง่าย

ไตจะขับเกลือแร่ออกได้น้อยลง ทำให้เกิดความดันโลหิตสูง

ไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดหลอดเลือดตีบ

เลือดแข็งตัวง่าย ทำให้เกิดการอุดตันในหลอดเลือดที่ไปเลี้ยงสมอง และหัวใจ

มีโอกาสเป็นเบาหวานได้ง่าย

เกิดภาวะไขมันสะสมคั่งในตับ ทำให้เกิดภาวะตับแข็ง

โรคไตเรื้อรัง

การนอนหลับผิดปกติ และการหยุดหายใจขณะหลับ

เก๊าท์ และภาวะกรดยูริกสูง

ภาวะสมองเสื่อม

การรักษากลุ่มอาการ อ้วนลงพุง

ผู้ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นกลุ่มภาวะอ้วนลงพุง ต้องได้รับการรักษาเพื่อลดปัจจัยเสี่ยงในการเกิดโรคหลอดเลือด และเบาหวาน รวมทั้งยังต้องได้รับการประเมินความเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดอื่นด้วย โดยการรักษาภาวะอ้วนลงพุง สามารถทำได้ด้วยการลดน้ำหนักอย่างน้อย 5% ซึ่งจะมีผลในการช่วยลดการเกิดโรคแทรกซ้อนจากความอ้วนได้ ดังนี้

ออกกำลังกายวันละ 30 นาทีขึ้นไป 5 ครั้ง/สัปดาห์

ผู้ที่ทำงานในออฟฟิศ ควรพักเพื่อทำกิจกรรมที่มีการเคลื่อนไหวระหว่างวัน

ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการทานอาหารให้ถูกต้อง ได้แก่

บริโภคน้ำตาลไม่เกิน 6 ช้อนชาต่อวัน

เพิ่มการทานอาหารที่มีปริมาณกากใยมาก

บริโภคอาหารจำพวกผักได้ไม่จำกัด

ลดสัดส่วนของอาหารที่รับประทาน

หลีกเลี่ยงอาหารที่ให้พลังงานสูง

การใช้ยาลดน้ำหนัก เมื่อดัชนีน้ำหนักตัวมากกว่า 30 หรือมากกว่า 27

(ถ้ามีโรคที่กระทบจากความอ้วน)

การรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อลดขนาดกระเพาะอาหาร เฉพาะผู้ที่มีความอ้วนขั้นรุนแรง

ทั้งนี้รูปแบบการควบคุมอาหารมีหลากหลาย และได้ผลไม่แตกต่างกัน จะเลือกใช้วิธีการใดขึ้นอยู่กับอุปนิสัย กิจวัตรประจำวัน และความเหมาะสมของแต่ละคน แต่มีเป้าหมายเดียวกัน คือ ลดอาหารที่รับประทานลงจากพลังงานที่ควรได้รับในแต่ละวัน ประมาณ 500 กิโลแคลอรี และลดพฤติกรรม หรือสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้อยากรับประทานอาหารมากขึ้น

สุดท้ายนี้ ก่อนจะจบบทความ Hillkoff เรามีวิธีการเลือกรับประทานอาหาร เพื่อสุขภาพที่ดี และสามารถทำได้ ดังนี้

เลือกรับประทานข้าว และแป้งไม่ขัดสี

เช่น ข้าวกล้อง ขนมปังโฮลวีท และธัญพืชต่าง ๆ โดยควรทานอย่างพอดี

เลือกรับประทานเนื้อสัตว์ชนิดไขมันต่ำ และไม่ติดมัน

เช่น เนื้อปลา ไข่ขาว เนื้ออกไก่ เนื้อหมูสันใน และลูกชิ้นต่าง ๆ โดยควรหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์แปรรูป อย่าง ไส้กรอก แหนม เบคอน แฮม และหมูยอ

เลือกดื่มนมชนิดพร่องมันเนย

เช่น นมเปรี้ยวหวานน้อย หรือนมถั่วเหลืองหวานน้อย โยเกิร์ตไขมันต่ำวันละ 1-2 แก้ว

เลือกรับประทานผักประเภทใบ

ควรระวังผักที่มีลักษณะเป็นหัว เช่น ฟักทอง เผือก ข้าวโพด มันเทศ มันฝรั่ง และอื่น ๆ เนื่องจากผักเหล่านี้ถูกจัดอยู่ในกลุ่มข้าว และแป้ง

เลือกรับประทานผลไม้สดชนิดหวานน้อย

เช่น ฝรั่ง ชมพู่ แอปเปิล แคนตาลูป ควรรับประทานไม่เกิน 1 จานรองแก้วกาแฟ (6-8 ชิ้นต่อมื้อ) และหลีกเลี่ยงน้ำผลไม้ หรือผลไม้อบแห้ง

ดื่มน้ำวันละ 1.5-2 ลิตร

เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะขาดน้ำ และดื่มเพื่อช่วยในเรื่องการขับถ่าย

เลือกดื่ม Coffogenic Drink

เครื่องดื่มที่สกัดมาจากเนื้อผลกาแฟเชอร์รี่เข้มข้น อุดมไปด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ และสารโพลีฟีนอล ซึ่งมีส่วนช่วยในการลดความเสี่ยงของเหล่าสารอนุมูลอิสระ พร้อมทั้งช่วยควบคุมการดูดซึมของคอเลสเตอรอล และส่งผลต่อเนื่องไปช่วยควบคุมภาวะไขมันพอกตับ โดยหากสนใจสามารถสั่งซื้อ หรือสอบถามได้ที่ Line: @coffogenic