----t

Материал из ТОГБУ Компьютерный Центр
Перейти к: навигация, поиск

ภาวะไขมันในเลือดสูง เป็นภัยเงียบอันตรายที่ก่อให้เกิดโรคร้ายแรงต่าง ๆ ทำให้หลายคนเริ่มหันกลับมาดูแลสุขภาพ ไม่ว่าจะเป็น การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต การเลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสุขภาพ และการออกกำลังกาย รวมไปถึงการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้สุขภาพแข็งแรง และห่างไกลจากโรคต่าง ๆ ซึ่งบทความในวันนี้ Hillkoff จะมาพูดถึงภาวะ ไขมันในเลือดสูง มีอาการอย่างไร และมีวิธีการป้องกันอย่างไรบ้าง บทความนี้มีคำตอบ

ศึกษาเพื่อป้องกัน ! ไขมันในเลือดสูง สังเกตอาการได้อย่างไรบ้าง ?

โดยปกติแล้วผู้ป่วยภาวะไขมันในเลือดสูง จะไม่แสดงอาการ แต่สามารถไปตรวจได้ด้วยการเจาะเลือด เพื่อตรวจระดับไขมันในเลือด ดังนี้

คอเลสเตอรอล (Cholesterol)

ระดับปกติของคอเลสเตอรอลในเลือด ไม่ควรเกิน 200 มิลลิกรัม/เดซิลิตร ซึ่งประกอบไปด้วย

คอเลสเตอรอลชนิดดี (HDL) ระดับปกติในเลือดผู้ชายมากกว่า 40 มิลลิกรัม/เดซิลิตร หรือผู้หญิงมากกว่า 50 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

คอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 130 มิลลิกรัม/เดซิลิตร

ไตรกรีเซอไรด์ (Triglyceride)

ระดับปกติในเลือดไม่ควรเกิน 150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร (ค่าปกติ 50-150 มิลลิกรัม/เดซิลิตร)

ภาวะไขมันในเลือด นอกจากจะส่งผลกระทบต่อสุขภาพแล้วยังเป็นสาเหตุของการเกิดโรคหัวใจ และหลอดเลือด ซึ่งมีความร้ายแรงถึงพิการ หรืออาจเสียชีวิตได้ เพราะฉะนั้นคุณควรหมั่นตรวจสุขภาพประจำปีอย่างสม่ำเสมอ เพื่อหลีกเลี่ยงภาวะ ไขมันในเลือดสูง

ด้วยความที่เลือดในร่างกายของคนเรามีหน้าที่ลำเลียงสารอาหารต่าง ๆ รวมไปถึง “ไขมัน” ซึ่งไขมันก็มีหลากหลายชนิดที่ทำหน้าที่แตกต่างกันออกไป แต่สำหรับภาวะไขมันในเลือดสูง (Hyperlipidemia) เป็นภาวะด้านสุขภาพ ที่ร่างกายมีไขมันชนิดไม่ดีอยู่ในระบบไหลเวียนเลือดมากเกินไป จนส่งผลให้เกิดโรคร้ายแรงตามมาได้

รู้ให้ทัน ! ไขมันในเลือดสูง เกิดจากไขมันอะไรบ้าง ?

ไขมันในเลือดหลัก ๆ มีอยู่ทั้งหมด 3 ชนิด โดยมาจากส่วนที่ร่างกายผลิตได้เองจากตับ และส่วนที่ร่างกายได้รับจากอาหารที่ทาน ซึ่งไขมันจะถูกลำเลียงผ่านเลือด และเกาะไปกับโปรตีนที่ชื่อว่า “ไลโปโปรตีน” และหากทำการตรวจสุขภาพ จะมีการจำแนกประเภทไขมันในเลือด ดังนี้

ไขมันเลว (Low-Density Lipoprotein)

Hillkoff

ไขมันเลว หรือไลโปโปรตีนความหนาแน่นต่ำ (LDL) เป็นคอเลสเตอรอลประเภทหนึ่ง ซึ่งคนที่มีไขมัน LDL สูง การลำเลียงไขมันผ่านเส้นเลือดอาจทำให้ไขมันเกิดการเกาะตัวที่ผนังเส้นเลือดแดง และอาจเป็นสาเหตุของอาการหลอดเลือดแดงตีบ หรือหลอดเลือดแดงอุดตัน

ไขมันดี (High-Density Lipoprotein)

ไขมันดี หรือไลโปโปรตีนความหนาแน่นมาก (HDL) คอเลสเตอรอลประเภทนี้เป็นไขมันดี ที่คอยช่วยดักจับไขมันส่วนเกินในเส้นเลือดแดง และส่งไปยังตับ ซึ่งหากมีปริมาณของไขมันดีในร่างกายสูง หรืออยู่ในระดับที่เหมาะสม จะยิ่งส่งผลดีต่อร่างกาย เพราะอาจช่วยลดไขมันส่วนเกินได้

ไตรกรีเซอไรด์ (Triglycerides)

ไตรกรีเซอไรด์ เป็นไขมันในเลือดชนิดหนึ่งที่คล้ายกับคอเลสเตอรอล ซึ่งเมื่อร่างกายมีปริมาณไตรกรีเซอไรด์มากเกินไป จะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดก้อนไขมันเกาะผนังในหลอดเลือดแดงมากขึ้น

อย่างไรก็ตาม การที่จะมีสุขภาพดีระดับไขมันทั้ง 3 ตัวนี้ต้องอยู่ในระดับที่เหมาะสม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคต่าง ๆ ได้ โดยเกณฑ์ค่าคอเลสเตอรอลไม่ควรเกิน 200 mg/dl หรือหากตรวจพบว่ามีโอกาสเสี่ยงเป็นภาวะไขมันในเลือด ควรปรึกษาแพทย์ และตรวจสุขภาพเพิ่มเติม เพื่อที่จะได้ขอคำแนะนำจากแพทย์ได้อย่างตรงจุด เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคร้ายในอนาคต

สังเกตให้ดี ! ภาวะ ไขมันในเลือดสูง มีอาการเริ่มต้นเป็นอย่างไร ?

ในระยะแรก ๆ อาจตรวจพบได้ยาก เพราะภาวะไขมันในเลือดจะไม่ค่อยแสดงอาการ แต่เมื่อไหร่ที่ร่างกายมีคอเลสเตอรอล และไตรกลีเซอไรด์มากเกินไป อาจเกิดการสะสมของไขมันในหลอดเลือดแดง ซึ่งหากมีภาวะ ไขมันในเลือดสูง ห้ามกินอะไรบ้าง เช่น

การทานอาหารที่มีคอเลสเตอรอล ไขมันอิ่มตัว ไขมันทรานส์ หรือคาร์โบไฮเดรตสูงเกินไป เช่น ของทอด หรืออาหารที่ผ่านกระบวนการแปรรูป เป็นต้น

ขาดการออกกำลังกาย หรือเคลื่อนไหวร่างกายน้อย

การสูบบุหรี่ และการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ความผิดปกติทางพันธุกรรม ทำให้ร่างกายเผาผลาญไขมันลดลง

การใช้ยาบางชนิด อาทิ ยาขับปัสสาวะ ยาคุมกำเนิด และอื่น ๆ

นอกจากนี้ ยังก่อให้เกิดภาวะ ไขมันในเลือด และมีอาการอื่น ๆ เช่น ความดันโลหิตสูงขึ้น มีอาการเวียนศีรษะ หน้ามืด รู้สึกเหมือนจะวูบเวลาลุก-นั่งเร็ว ๆ หรือเริ่มปวดศีรษะอยู่เป็นประจำ รวมไปถึงอาการใจสั่น หัวใจเต้นเร็วผิดปกติ

วิธีการป้องกัน และการดูแลตัวเอง เมื่อเสี่ยงเป็นภาวะไขมันในเลือดสูง

การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ชีวิต และพฤติกรรมการกินอาหารที่เหมาะสม จะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ และหากปฏิบัติตามข้อแนะนำดังกล่าว จะช่วยลดโอกาสในการเป็นโรคไขมันในเลือดสูงได้ เช่น

การควบคุมอาหาร

การรับประทานอาหารที่ถูกต้องตามหลักโภชนาการ ถือเป็นเรื่องสำคัญในการป้องกัน และการรักษาภาวะไขมันในเลือดสูง โดยควรหลีกเลี่ยงอาหารจำพวกเนื้อสัตว์ติดมัน เครื่องในสัตว์ ไข่แดง อาหารทะเล ผลิตภัณฑ์จากนม ของหวานที่มีส่วนประกอบของน้ำตาล กะทิ ของทอด รวมไปถึงควรหลีกเลี่ยงน้ำมันประเภทที่มีกรดไขมันสูง อย่าง น้ำมันมะพร้าว และไขมันที่ได้จากสัตว์

การออกกำลังกาย

ผู้ที่มีภาวะไขมันในเลือดสูงควรหันมาออกกำลังกาย โดยอาจเริ่มจากการเดิน การขยับตัวบ่อย ๆ ไม่จำเป็นว่าจะต้องออกกำลังกายหนัก ๆ แต่ให้ออกกำลังกายวันละนิดอย่างสม่ำเสมอ จะช่วยให้ร่างกายแข็งแรง ช่วยลดระดับไขมันเลว (LDL), คอเลสเตอรอล, และช่วยเพิ่มระดับไขมันดี (HDL)

การใช้ยาเพื่อลดระดับไขมัน

หากในกรณีที่การควบคุมอาหาร และการออกกำลังกาย ไม่สามารถลดระดับไขมันในเลือดได้ จำเป็นจะต้องใช้ยาลดระดับไขมันในเลือดร่วมด้วย แต่ทั้งนี้ควรปรึกษา และรับประทานตามที่แพทย์สั่ง

ทาน Coffogenic Drink ช่วยควบคุมระดับไขมัน

Hillkoff

Coffogenic Drink เป็นเครื่องดื่มสกัดจากเนื้อผลกาแฟเชอร์รี่ ที่มีสาร Chlorogenic Acid ช่วยควบคุมการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยไขมัน ทำให้ระดับไตรกลีเซอไรด์ในเลือดลดลง ช่วยลดความเสี่ยงของการสะสมไขมันในร่างกาย และไขมันในตับได้เป็นอย่างดี นอกจากนี้ ยังช่วยควบคุมภาวะดื้ออินซูลิน ช่วยขยายขนาดของไมเซลคอเลสเตอรอล ทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อยลง ช่วยควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

อย่างไรก็ตาม นี่เป็นเพียงคำแนะนำเบื้องต้น โดยคุณควรให้ไปพบแพทย์เพื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้อง และเหมาะสมจึงจะดีที่สุด และหากสนใจผลิตภัณฑ์เครื่องดื่ม Coffogenic Drink จาก Hillkoff สามารถปรึกษา หรือสอบถามเพิ่มเติมได้ที่ Line: @coffogenic