-NCDs--c

Материал из ТОГБУ Компьютерный Центр
Перейти к: навигация, поиск

ปัจจุบันตัวเลขของผู้ป่วยกลุ่มโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง มีจำนวนเพิ่มขึ้นทุกปี โดยข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) พบว่าตลอด 10 ปีที่ผ่านมาคนไทยมีอัตราการเสียชีวิตเร็วจากกลุ่มโรค NCDs สูงเป็นอันดับ 1 และทุก ๆ ปีคาดว่าจะมีแนวโน้มของผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้น

ดังนั้น บทความในวันนี้ Hillkoff จะมาอธิบายเกี่ยวกับโรค NCDs พร้อมทั้งบอกวิธีการป้องกันตนเองให้ห่างไกลจากโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง รวมไปถึงการปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรค

ปัจจัย และพฤติกรรมเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง

โรค NCDs (Non Communicable Diseases) หรือโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือ โรคที่เกิดจากพฤติกรรมเสี่ยงในการดำเนินชีวิต ไม่ว่าจะเป็น

การรับประทานอาหารรสจัด และอาหารไขมันสูง

จากการวิจัยพบว่าการรับประทานอาหารรสจัด อย่าง รสเค็มจัด ทำให้มีผู้เสียชีวิตจากการบริโภคเกลือ หรือโซเดียมมากเกินไป รวมไปถึงการรับประทานอาหารไขมันสูง อาหารจำพวกแป้ง ของมัน และของทอด เช่น อาหารจังก์ฟู้ด (Junk Food) หากตรวจพบระดับน้ำตาลในเลือดสูงขึ้น หรือภาวะไขมันในเลือดสูงขึ้น สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยเสี่ยงของเมตาบอลิซึมที่นำไปสู่โรคร้ายแรงต่าง ๆ จากกลุ่มโรค NCDs

การดื่มแอลกอฮอล์ การสูบบุหรี่ การไม่ออกกำลังกาย

สำหรับคนที่ชอบสังสรรค์ โดยเฉพาะผู้ที่ชอบดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ จากรายงานพบว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรค NCDs ที่มีพฤติกรรมชอบดื่มสุรามากถึง 3 ล้านคนต่อปี ยิ่งไปกว่านั้นหากสูบบุหรี่เป็นประจำ รวมไปถึงผู้ที่ใกล้ชิดกับควันบุหรี่ จะยิ่งเพิ่มอัตราความเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs ซึ่งหากเฉลี่ยแล้วการสูบบุหรี่ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 ล้านคนต่อปี

นอกจากนี้ การไม่ออกกำลังกาย ถือเป็นปัจจัยเสี่ยงทางเมตาบอลิซึมในร่างกาย หรือคนที่ต้องนั่งทำงานทั้งวันในท่าเดิม ๆ เป็นเวลานาน นอกจากไม่ได้ช่วยให้ร่างกายได้ขยับ หรือใช้พลังงานยังเป็นปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดโรค และนำไปสู่การเกิดโรคมะเร็ง

การพักผ่อนไม่เพียงพอ หรือมีภาวะเครียดสูง

กลุ่มคนที่มีภาวะความเครียดสูง ทั้งจากการใช้ชีวิต และจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สามารถจัดการกับความเครียดเหล่านั้นได้ นอกจากนี้ องค์ประกอบโดยรวมของสภาพแวดล้อม ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการรักษาสุขภาพของคนในชุมชนก็เสี่ยงต่อการเป็นโรค NCDs เช่นกัน

โดยสาเหตุ และพฤติกรรมเหล่านี้ หลายคนเรียกว่าเป็นโรคที่เราสร้างขึ้นมาเอง เพราะโรค NCDs ไม่ได้เกิดจากเชื้อโรค ไวรัส หรือแบคทีเรีย แต่เป็นโรคที่เกิดจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตของแต่ละคน ซึ่งจะมีการสะสมอาการอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญหากไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้อง อาการเรื้อรังของโรคจะรุนแรงขึ้น จนเกิดเป็นผลเสียต่อการใช้ชีวิตประจำวันของผู้ป่วย

กลุ่มโรค NCDs และอาการของโรคที่ควรสังเกต มีอะไรบ้าง

โรคเบาหวาน จะเริ่มมีอาการปัสสาวะบ่อยในตอนกลางคืน อ่อนเพลียง่าย น้ำหนักลด หรือหากเป็นแผลจะหายช้ากว่าปกติ

โรคความดันโลหิตสูง มีอาการปวดศีรษะ มีอาการมึนงงหลังตื่นนอน เหนื่อยง่าย ตาพร่ามัวบ่อย รวมถึงอาจมีอาการใจสั่นร่วมด้วย

โรคหลอดเลือดสมอง มีอาการแขนขาอ่อนแรง รู้สึกชาตามนิ้วมือ และนิ้วเท้า บางรายอาจมีอาการปากเบี้ยว หรือพูดไม่ชัด

โรคหัวใจขาดเลือด มักมีอาการแน่นหน้าอก จุกเสียดบริเวณลิ้นปี่ หรือบริเวณคอหอย บางรายอาจมีอาการหน้ามืด และใจสั่น

โรคมะเร็ง ส่วนมากเกิดจากผู้ป่วยที่มีแผลเรื้อรัง รักษาไม่หาย หรือมีก้อนเนื้อบริเวณตาตุ่ม แต่หากพบในบริเวณช่องท้องจะกระทบต่อระบบขับถ่าย หรือมีเลือดออกโดยหาสาเหตุไม่ได้

โรคอ้วนลงพุง วัดได้จากการวัดรอบเอว โดยผู้ชายจะมีรอบเอวเกิน 90 เซนติเมตร ผู้หญิงที่มีรอบเอวเกิน 80 เซนติเมตร มีอาการเหนื่อยง่าย และมีปัญหาเรื่องข้อเข่าจากน้ำหนักตัวที่มาก

วิธีการปฏิบัติตัว เพื่อรับมือกับโรค NCDs

วิธีการแก้ไข และการปฏิบัติตัวเพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเกิดโรค NCDs คือ การปรับพฤติกรรมประจำวัน แน่นอนว่าอาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก แต่หากคิดถึงผลในระยะยาว ก็เป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคต่าง ๆ ซึ่งสามารถทำได้ ดังนี้

ลด หรืองดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์

ลด หรืองดการสูบบุหรี่

หาวิธีผ่อนคลายจากความเครียด เพื่อไม่ให้ตัวเองอยู่ในสภาวะตึงเครียด อย่าง หาเวลาพักผ่อน ออกกำลังกาย หรือทำงานอดิเรก

ฮิลล์คอฟฟ์

นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และควรหลับให้สนิท 6-8 ชั่วโมง

ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยวันละ 30 นาที

ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผัก และผลไม้

หลีกเลี่ยงอาหารรสจัด ของมัน ของทอด และอาหารจำพวกแป้ง

หากมีอาการเจ็บป่วย ควรพบแพทย์เพื่อรับยา และการรักษาที่ถูกต้อง

ควรตรวจสุขภาพประจำปีอยู่เสมอ เพื่อเช็กดูว่าควรปรับพฤติกรรมอย่างไรให้เหมาะสมกับการใช้ชีวิต และสุขภาพที่ดี

อย่างไรก็ตาม การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมเพื่อกำจัดความเสี่ยง อาจเป็นเรื่องที่ทำได้ยาก และต้องใช้เวลาให้ชินกับพฤติกรรมการใช้ชีวิตใหม่ ๆ ดังนั้นการเลือกทานอาหารเสริมที่มีสาร Chlorogenic Acid อย่าง Coffogenic Drink เครื่องดื่มสกัดเข้มข้นจากเปลือกกาแฟเชอร์รี มีส่วนช่วยในการควบคุมภาวะเสี่ยงต่อการเกิดโรค NCDs

นอกจากนี้สาร Chlorogenic Acid สามารถเพิ่มขนาดของคอเลสรอลมายเซลล์ ทำให้ร่างกายดูดซึมได้น้อยลง จึงมีส่วนช่วยควบคุมระดับไขมันในเลือด และลดความเสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ รวมไปถึงช่วยลดความเสี่ยงต่อภาวะดื้ออินซูลิน เช่น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคคอเลสเตอรอล โรคเบาหวาน เป็นต้น

หากต้องการสอบถามเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์เพิ่มเติม หรือต้องการสั่งซื้อ สามารถติดต่อเราได้ที่ Line: @coffogenic